FAQs : คำถามด้านประกันคุณภาพ | ||
คำถาม | คำตอบ |
อ้างอิงเอกสาร/ระเบียบ/อื่นๆ เพื่ออ่านเพิ่มเติม |
1. การรวบข้อมูลแต่ละตัวบ่งชี้จะต้องรายงานคณะฯในช่วงใดบ้าง |
การรวบรวมส่งข้อมูลให้กับทางคณะฯหน่วยงาน/ภาควิชาจะต้องส่งให้กับทางคณะฯ ทุกรอบ 3 เดือน คือ |
|
2. ต้องจัดทำรายงานประจำปีการประเมินคุณภาพให้แล้วเสร็จเมื่อไร |
ระดับภาควิชา/หน่วยงาน ภายใน 1 เดือน หลังสิ้นสุดรอบปีการศึกษา |
คู่มือการจัดทำรายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4) |
3. ในการรวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพ ใช้กรอบเวลาใด |
1. ตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลด้านการเรียนการสอน นักศึกษา อาจารย์ ใช้กรอบเวลาตามปีการศึกษา ยกเว้น ตัวบ่งชี้ที่ 8.3 สินทรัพย์ถาวรต่อจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า และตัวบ่งชี้ที่ 8.4 ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า ใช้กรอบเวลาตามปีงบประมาณ 2. ตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับการเงินและงบประมาณ ค่าใช้จ่าย งบดำเนินการ เงินเหลือจ่ายสุทธิ ใช้กรอบเวลาตามปีงบประมาณ ยกเว้นตัวบ่งชี้ที่ 5.7 ร้อยละของค่าใช้จ่ายและมูลค่าที่บริการวิชาการผู้ด้อยโอกาส ต่องบดำเนินการทั้งหมด ใช้กรอบเวลาตามปีการศึกษา 3. ตัวบ่งชี้ที่ 4.12 ร้อยละของบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง (Citation) ใน Refereed Journal ใช้กรอบเวลาตามปีปฏิทิน |
คู่มือการจัดทำรายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4)
|
4. ข้อมูลที่จัดเก็บด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม นั้นมีอะไรบ้าง |
ข้อมูลด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ที่สามารถนำมาประมวลได้ เช่น การทำบุญภาควิชา วันสงกรานต์ (ชื่อโครงการ วันจัด ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในเชิงมูลค่า เช่น มีคนนำสวดมนต์ การจัดรถไปส่งพระสงฆ์ การใช้อุปกรณ์ ห้องประชุม) การนำนักศึกษาไปทัศนศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม รวมถึงการไปดูงานในเชิงภูมิปัญญาชาวบ้าน การเลี้ยงอาหารพื้นบ้านในการประชุมต่างๆ ที่ภาควิชาจัด หัวข้อโครงงาน/วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (องค์ประกอบที่ 6) |
http://www.qa.psu.ac.th/manual/sar4.pdf
|
5. การจัดเก็บข้อมูลด้านประกันคุณภาพมีอะไรบ้าง |
การดำเนินการในเรื่องด้านการประกันคุณภาพ เช่น รายละเอียดของการประชุม/สัมมนาระดับภาควิชา ค่าใช้จ่ายและมูลค่าในการดำเนินการ (เช่น ค่าจัดทำเอกสาร ค่าจัดทำเอกสารรายงานการประกันคุณภาพ ค่าอาหารเครื่องดื่ม ค่าใช้ห้องประชุม) (องค์ประกอบที่ 9) |
|
6. การจัดเก็บข้อมูลรางวัล/ผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร ที่ได้รางวัลมีอะไรบ้างที่ควรเก็บ | รางวัลจากงานวิชาการ วิชาชีพ ด้านกีฬา ด้านศิลปวัฒนธรรม วิทยานิพนธ์ ผลงานตีพิมพ์ งานวิจัย บทความต่าง ๆ จากการเข้าร่วมแข่งขันในระดับชาติ นานาชาติ (ตัวบ่งชี้ 2.16) |
|
7. การจัดเก็บข้อมูลของบทความวิจัยที่ได้รับ การอ้างอิง (Citation) ใน refereed Journal หรือในฐานข้อมูลระดับชาติ/นานาชาติต่ออาจารย์ประจำและนักวิจัย เก็บอย่างไร/นับอย่างไร | การจัดเก็บเป็นปีปฏิทิน และการนัดบทความที่ได้รับอ้างอิงใน ฐานข้อมูลระดับชาติ/นานาชาติ ไม่นับซ้ำ แม้ว่าบทความนั้นจะได้รับการอ้างอิงหลายครั้งก็ตาม และให้นับเฉพาะที่เป็นบทความวิจัยเท่านั้นได้แก่ Research Article ,Letter และ Review |
|
8. การคิดคะแนนรายองค์ประกอบ คิดอย่างไร |
ใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้ คะแนนรายองค์ประกอบ = ผลรวมทั้งหมดของผลคูณระหว่างค่าน้ำหนักของตัวบ่งชี้ย่อยกับคะแนนของตัวบ่งชี้ย่อยที่ได้จากการประเมินในแต่ละองค์ประกอบ หารด้วยน้ำหนักทั้งหมดของตัวบ่งชี้ย่อยในแต่ละองค์ประกอบ |
คู่มือการจัดทำรายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4)
|
9. ในการประเมินผลการดำเนินงานของภาควิชา/หน่วยงาน ใช้เกณฑ์การประเมินอย่างไร |
พิจารณาจากผลคะแนนการประเมิน โดย |
คู่มือการจัดทำรายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4) http://www.qa.psu.ac.th/manual/sar4.pdf
|
10. กรณีหน่วยงานมีการดำเนินงานในตัวบ่งชี้เฉพาะเพียงบางตัว จะกระจายน้ำหนักอย่างไร |
ให้ปรับค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้เฉพาะที่ไม่มีอยู่ไปรวมกับตัวบ่งชี้เฉพาะที่มีอยู่ โดยสัดส่วนของค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้ร่วม : ตัวบ่งชี้เฉพาะยังเป็น 60 : 40% โดยน้ำหนักในตัวบ่งชี้ร่วมทุกตัวต้องเท่ากัน และน้ำหนักในตัวบ่งชี้เฉพาะทุกตัวต้องเท่ากัน |
คู่มือการจัดทำรายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4) http://www.qa.psu.ac.th/manual/sar4.pdf |
11. กรณีภาควิชา/หน่วยงานไม่มีผลการดำเนินงานในบางตัวบ่งชี้ จะกระจายน้ำหนักอย่างไร | ให้นำค่าน้ำหนักของตัวบ่งชี้นั้น กระจายไปยังตัวบ่งชี้อื่นในองค์ประกอบเดียวกัน โดยการเฉลี่ยค่าน้ำหนักในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน |
คู่มือการจัดทำรายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4) |
12. การประเมินอิงพัฒนาการในแต่ละตัวบ่งชี้ พิจารณาจากอะไร |
ผลการประเมิน (เทียบเกณฑ์) ปีการศึกษา 25XX-2 และผลการประเมินปีการศึกษา 25XX (ปีปัจจุบัน) ถ้าผลการประเมินปีการศึกษา 25XX (ปีปัจจุบัน) สูงกว่าผลการประเมินปีการศึกษา 25XX-2 ไม่ต่ำกว่า 1 ระดับ ถือว่ามีพัฒนาการ หรือ ถ้าผลการประเมินปีการศึกษา 25XX (ปีปัจจุบัน) อยู่ในระดับ 3 ถือว่ามีพัฒนาการ |
คู่มือการจัดทำรายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4)
|
13. กรณีที่ภาควิชา/หน่วยงานไม่มีผลการประเมินปีการศึกษา 25XX-2 เนื่องจากครั้งแรกยังไม่มีการประเมินตัวบ่งชี้ดังกล่าว ในการประเมินอิงพัฒนาการ จะประเมินอย่างไร | ในกรณีดังกล่าวคะแนนพัฒนาการเท่ากับ 0 จึงคะแนนเต็มเท่ากับ 4 คะแนน ในการประเมินปีการศึกษา 25XX (ปีปัจจุบัน) ใช้สูตรเทียบเป็นผลประเมินคะแนนเต็ม 5 โดยใช้สูตรดังนี้ คะแนนใหม่ที่ปรับแล้ว = (4/3) X คะแนนที่ประเมินได้ + (-1/3) |
คู่มือการจัดทำรายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4)
|
14. การประเมินประสิทธิผลตามแผนการดำเนินงาน ประเมินอย่างไร | ถ้าผลการประเมินพบว่าตัวบ่งชี้นั้นๆ บรรลุผลตามเป้าหมายของแผนของภาควิชา/หน่วยงาน ให้ 1 คะแนน ถ้าไม่บรรลุผลตามเป้าหมายของแผนให้ 0 คะแนน |
คู่มือการจัดทำรายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4) |
15. PDCA-Par ย่อมาจากอะไร และหมายถึงอะไร |
P = Plan หมายถึง การวางแผน |
ข่าวประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ประจำเดือน ตุลาคม ธันวาคม 2552 |
16. กรณีอาจารย์ทำวิจัยและมีนักศึกษาปริญญาโท/เอกทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยของอาจารย์สามารถนับเป็นผลงานของทั้งอาจารย์และนักศึกษาได้หรือไม่ |
ให้นับเป็นผลงานของนักศึกษา | |
17. ผลงานที่ได้รับการอ้างอิง(Citation)/ลิขสิทธิ์/สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร สามารถนำมานับเป็นงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ |
ไม่สามารถนับได้ เนื่องจากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์มุ่งเน้นการแก้ปัญหาของชุมชนและองค์กรภายนอกสถาบัน | |
18. การใช้ประโยชน์นับปีใดและหากเป็นการนำไปใช้ประโยชน์หลายปีจะนับอย่างไร |
นับปีที่ใช้ จะนับได้อีกหากมีการต่อยอดหรือใช้ในต่างพื้นที่ หรือองค์กร |
|
19. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ของอาจารย์สามารถนับเป็นผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพได้หรือไม่ |
ไม่สามารถนับได้ นับได้เฉพาะบทความวิชาการ และตำราหรือหนังสือ | |
20. รายวิชาที่มีการเปิดสอนโดยมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรในรายวิชานั้นหลายโครงการ จะนับเป็นบริการวิชาการได้หรือไม่ |
ไม่นับเป็นบริการวิชาการ เพราะการบริการวิชาการต้อง บริการบุคคลภายนอก |
|
21. การบริการวิชาการที่นำมาบูรณาการกับการสอนหรือการวิจัยพิจารณาช่วงเวลาอย่างไร เช่น โครงการบริการวิชาการในปีการศึกษา 2552 แต่มีการบูรณาการในปีการศึกษา 2553 จะนับอย่างไร |
นับปีที่บูรณาการ ไม่นับปีที่ทำบริการวิชาการ | |
22. การประเมินผลการประกันคุณภาพภายในระดับคณะสามารถใช้คะแนนการประเมินไม่ครบ 23 ตัวบ่งชี้ของสกอ. ได้หรือไม่ |
ไม่ได้ จะต้องใช้คะแนนการประเมินจากตัวบ่งชี้ของสกอ. โดยหากไม่มีคะแนนในตัวบ่งชี้ใดให้นำคะแนนของสถาบันมาให้ครบทั้ง 23 ตัวบ่งชี้ |
|
23. การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามจากสมศ. ใช้ผลการดำเนินงานกี่ปี |
กรณีตัวบ่งชี้เชิงปริมาณใช้ผลการดำเนินงาน 3 ปี ก่อนปีที่ประเมิน กรณีตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพใช้ผลการดำเนินงาน 1 ปี ก่อนปีที่ประเมิน สำหรับในปีการศึกษา 2553 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำหนดให้คณะใช้ผลดำเนินงาน 1 ปี ก่อนปีที่ประเมิน |
|
24. งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของบุคลากรสายสนับสนุนที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่สามารถนำมานับในตัวบ่งชี้ที่ 5 ได้หรือไม่ |
ไม่ได้ เนื่องจากตัวบ่งชี้นี้นับเฉพาะงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของอาจารย์และนักวิจัยเท่านั้น |
|
25. บุคลากรที่มีภาระงานทางด้านงานวิจัยของคณะจะนับเป็นนักวิจัยได้หรือไม่ |
ไม่ได้ เนื่องจากนักวิจัย หมายถึง บุคลากรที่มีตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบเทียบเท่าเจ้าหน้าที่วิจัยหรือนักวิจัย | |
26. ผลงานวิจัยที่มีการนำไปใช้ประโยชน์หลายครั้งในปีที่รายงานจะนับตามจำนวนผลงานวิจัย หรือตามจำนวนที่นำไปใช้ประโยชน์ |
นับตามจำนวนผลงานวิจัย |