กระบวนการจัดสรรเงินรายได้พัฒนาภาควิชา
          คำอธิบาย   การจัดสรรเงินรายได้พัฒนาภาควิชา จะดำเนินการออกเป็น 2  ช่วงเวลา คือ ช่วงแรกต้นปีงบประมาณ เป็นการจัดสรรเงินรายได้พัฒนาภาควิชาซึ่งเป็นยอดประมาณการโดยใช้ข้อมูลของปีก่อนมาเป็นข้อมูลประกอบในการจัดสรร  และช่วงหลังสิ้นปีงบประมาณเป็นการจัดสรรยอดเงินรายได้พัฒนาภาควิชาที่แท้จริง เมื่อได้รับทราบข้อมูลที่ใช้สำหรับประกอบการจัดสรรเงินที่เป็นข้อมูลการดำเนินงานของปีงบประมาณที่จัดสรร  การจัดสรรเงินรายได้พัฒนาภาควิชาจะเริ่มดำเนินงานประมาณเดือนกรกฎาคมของทุกปี   ในขณะดำเนินงานข้อมูลการดำเนินงานจริงของปีงบประมาณที่จะจัดสรรยังไม่เกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลของปีก่อน มาเป็นข้อมูลประกอบการจัดสรรไปพลางก่อน  ทั้งนี้ เพื่อให้ภาควิชาสามารถทราบกรอบงบประมาณที่จะได้รับ  เพื่อรองรับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินรายได้พัฒนาภาควิชา   และเมื่อสิ้นปีงบประมาณ คณะฯ ได้รับรายรับค่าธรรมเนียมการศึกษา รวมถึงข้อมูลการดำเนินงานจริงของปีงบประมาณนั้นๆ  จะดำเนินการจัดสรรอีกครั้งพร้อมแจ้งไปยังภาควิชา/การเงินรับทราบ เพื่อดำเนินการปรับปรุงยอดเงินทางบัญชีต่อไป  ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจวิธีการจัดสรรเงินรายได้พัฒนาภาควิชา ขอยกตัวอย่าง เช่น การจัดสรรเงินรายได้พัฒนาภาควิชาของปีงบประมาณ พ.ศ. 2556  
ช่วงแรกต้นปีงบประมาณ (ใช้ข้อมูลของปีก่อน) ประกอบด้วย ช่วงหลังสิ้นปีงบประมาณ (ใช้ข้อมูลจริง) ประกอบด้วย
1. จำนวนนักศึกษาภาคการศึกษาที่ 1/2555 1. จำนวนนักศึกษาภาคการศึกษาที่ 1/2556
2. จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาภาคการศึกษาที่ 2/2554 และ 1/2555 2. จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาภาคการศึกษาที่ 2/2555 และ 1/2556
3. จำนวนบุคลากร ณ ต้นปีงบประมาณ 2555 (ข้อมูลบุคลากรเดือนตุลาคม 2554) 3. จำนวนบุคลากร ณ ต้นปีงบประมาณ 2556 (เดือนตุลาคม 2555)
4. ข้อมูลคะแนนการประเมินKPI ของการประเมินคุณภาพภายในปีการศึกษา 2554 5. ข้อมูลคะแนนการประเมินคุณภาพ KPIs ของการประเมินคุณภาพาภายในปีการศึกษา 2555
5. ข้อมูลประมาณการรายรับค่าธรรมเนียมพิเศษของปีงบประมาณ 2556 6. ข้อมูลรายรับจริงค่าธรรมเนียมพิเศษของปีงบประมาณ 2556
ขั้นตอนหลัก ขั้นตอนย่อย ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เอกสาร/form/ตัวอย่าง Tips
 การจัดสรรเงินรายได้พัฒนาภาควิชา(ช่วงแรกต้นปีงบประมาณ เป็นยอดประมาณการ)      
1. การจัดทำข้อมูลจำนวนนักศึกษาปริญญาตรี 1.1 นักศึกษาปริญญาตรี (ปกติ) กรกฎาคม ขวัญฤดี โทร. 7408 ข้อมูล/สารสนเทศ จากเว็บไซด์กองแผนงาน ข้อมูลสารสนเทศจากกองแผนงาน มหาวิทยาลัย ใช้จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีการศึกษา 2555 ทุกชั้นปีของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ณ วิทยาเขตหาดใหญ่  เนื่องจากจำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ไม่สามารถแยกภาควิชาได้ ให้ใช้สัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของเอกสารแผนการยืนยันรับนักศึกษาใหม่ของแต่ละภาควิชาประจำปีการศึกษา 2555  แล้วนำไปเทียบสัดส่วนกับจำนวนนักศึกษาชั้นปีที่1  ที่รับจริงทั้งหมดของปีการศึกษา 2555 เพื่อจะได้จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1แยกตามภาควิชา สำหรับชั้นปีอื่นๆ มีการแยกชัดเจนอยู่แล้ว ทั้งนี้ ไม่นับรวมนักศึกษาภ.คอมพิวเตอร์(โครงการพิเศษ) 
  1.2 จำนวนนักศึกษาปริญญาตรี (โครงการพิเศษ) กรกฎาคม ขวัญฤดี โทร. 7408 ข้อมูล/สารสนเทศ จากเว็บไซด์กองแผนงาน ข้อมูลสารสนเทศจากกองแผนงาน มหาวิทยาลัย ใช้จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีการศึกษา 2555 ทุกชั้นปีของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ณ วิทยาเขตหาดใหญ่ เฉพานักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (โครงการพิเศษ) ซึ่งจะมีการแยกรายละเอียดข้อมูลชัดเจนทุกชั้นปี
2. การจัดทำข้อมูลจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา 2.1 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาปริญญาตรี กรกฎาคม ขวัญฤดี โทร. 7408 ระบบฐานข้อมูลนักศึกษาเต็มเวลา ฐานข้อมูลนักศึกษาเต็มเวลา ใช้ข้อมูลจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา ณ วิทยาเขตหาดใหญ่ ตารางตามต้นสังกัดของผู้สอน ในคอลัมภ์โครงการปกติ ของภาคการศึกษาที่ 2/2554 และ 1/2555  นำมารวมกันแล้วหาร 2  เพื่อให้ได้จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาของปีงบประมาณ 2555
  2.2 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาปริญญาตรี โครงการพิเศษ กรกฎาคม ขวัญฤดี โทร. 7408 ระบบฐานข้อมูลนักศึกษาเต็มเวลา ฐานข้อมูลนักศึกษาเต็มเวลา ใช้ข้อมูลจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา ณ วิทยาเขตหาดใหญ่ ตามต้นสังกัดของผู้สอนในคอลัมภ์โครงการพิเศษของภาคการศึกษาที่ 2/2554 และ 1/2555  นำมารวมกันแล้วหาร 2  เพื่อให้ได้จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาของปีงบประมาณ 2555
3. การจัดทำข้อมูลจำนวนบุคลากรที่อยู่ปฏิบัติงาน   กรกฎาคม ขวัญฤดี โทร. 7408 รายชื่อบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ รายชื่อบุคลากรคณะฯ ใช้ข้อมูลบุคลากรที่อยู่ปฏิบัติงาน ณ ต้นปีงบประมาณ 2555 (เดือน ตุลาคม 2554) และใช้ข้อมูลเฉพาะบุคลากรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่อยู่ปฏิบัติงาน ณ วิทยาเขตหาดใหญ่เท่านั้น ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน
4. ข้อมูลคะแนน KPIs 4.1 ข้อมูลผลการประเมินคุณภาพภายใน (SAR) กรกฎาคม ขวัญฤดี โทร. 7408   รายงานผลการประเมินคุณภาพภายใน ใช้ข้อมูลผลการประเมินคุณภาพภายใน(SAR) ของปีการศึกษา 2554 ที่ผ่านมา 
5. ข้อมูลประมาณการรายรับค่าธรรมเนียมพิเศษ 5.1 ข้อมูลรายรับค่าธรรมเนียมพิเศษนักศึกษาระดับปริญญาตรี (ปกติ) กรกฎาคม ขวัญฤดี โทร. 7408 เอกสารงบประมาณเงินรายได้ แบบฟอร์มที่ 2 ประมาณการรายรับงบประมาณเงินรายได้ ประมาณการรายรับค่าธรรมเนียมพิเศษนักศึกษาป.ตรี โครงการปกติ ประมาณการรายรับค่าธรรมเนียมพิเศษนักศึกษาปกติต้องนำมาหัก 10% เพื่อสมทบกองทุนวิจัยก่อน หลังจากนั้นมาแบ่งสัดส่วนระหว่างคณะ และภาควิชา 50:50 และใช้วงเงินในสัดส่วน 50% เป็นการยอดในการจัดสรรให้ภาควิชา
  5.2 ข้อมูลรายรับค่าธรรมเนียมพิเศษนักศึกษาระดับปริญญาตรี (โครงการพิเศษ) กรกฎาคม ขวัญฤดี โทร. 7408 เอกสารงบประมาณเงินรายได้ แบบฟอร์มที่ 2 ประมาณการรายรับงบประมาณเงินรายได้ ประมาณการรายรับค่าธรรมเนียมพิเศษนักศึกษาป.ตรี โครงการพิเศษ ประมาณการรายรับค่าธรรมเนียมพิเศษนักศึกษาโครงการพิเศษ ต้องนำมาหัก 10% เพื่อสมทบกองทุนวิจัยก่อน หลังจากนั้นมาแบ่งสัดส่วนระหว่างคณะกับภ.คอมพิวเตอร์ โดยคณะได้รับ 1/6 และภ.คอมพิวเตอร์ได้รับ 5/6
  5.3 ข้อมูลรายรับค่าธรรมเนียมพิเศษนักศึกษาระดับปริญญาโท (สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์) กรกฎาคม ขวัญฤดี โทร. 7408 เอกสารงบประมาณเงินรายได้ แบบฟอร์มที่ 2 ประมาณการรายรับงบประมาณเงินรายได้ ประมาณการรายรับค่าธรรมเนียมพิเศษนักศึกษาป.โท รายรับค่าธรรมเนียมพิเศษนักศึกษาระดับปริญญาโท ต้องนำมาหัก 10% เพื่อสมทบกองทุนวิจัยก่อน หลังจากนั้นจะจัดสรรให้เป็นเงินรายได้พัฒนาภาควิชาให้กับภ.คอมพิวเตอร์ทั้งหมด เนื่องจากเป็นภาควิชาเดียวที่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโทในหลักสูตรปกติ
6. การกรอกข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องของสูตรการจัดสรรเงิน   กรกฎาคม ขวัญฤดี โทร.7408 - สูตรการจัดสรรเงินรายได้พัฒนาภาควิชา ต้องตรวจสอบรายละเอียดพร้อมสูตรให้ถูกต้อง เพราะนักศึกษาโครงการปกติและนักศึกษาโครงการพิเศษ ใช้เกณฑ์จัดสรรไม่เหมือนกัน
7. แจ้งกรอบวงเงินที่จัดสรรให้ภาควิชาสำหรับการจัดการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินรายได้    สิงหาคม ขวัญฤดี โทร. 7408 - หนังสือแจ้งการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินรายได้ ต้องแยกประเภทแหล่งที่มาของเงินรายได้แต่ละประเภทให้ชัดเจน เช่น จากนักศึกษาปกติ นักศึกษาโครงการพิเศษ และนักศึกษาปริญญาโท(ภ.คอมพิวเตอร์)
8. ภาควิชาดำเนินการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินรายได้พัฒนาภาควิชาประจำปี ตามกรอบวงเงินที่ได้รับจัดสรร   สิงหาคม ภาควิชา -   การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงิน ต้องจำแนกหมวดรายจ่าย/ประเภทรายจ่ายให้ชัดเจน หากมีการขอใช้เงินจากรายได้สะสมให้แสดงรายละเอียดข้อมูลด้วย
9. การตรวจสอบรายละเอียดแผนการใช้จ่ายเงินของภาควิชาต่างๆ   สิงหาคม ขวัญฤดี โทร. 7408 -   ตรวจสอบให้ละเอียดรายการต่างๆ ให้ชัดเจน และเป็นไปตามกรอบวงเงินที่จัดสรรให้กับภาควิชาต่างๆ
10. นำเสนอแผนการใช้จ่ายเงินรายได้ประจำปีต่อคณะกรรมการประจำคณะฯ เพื่อให้ความเห็นชอบ   กันยายน คณะกรรมการประจำคณะฯ - เอกสารนำเสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะฯ แผนการใช้จ่ายเงินรายได้พัฒนาภาควิชาต้องแยกหมวดรายจ่าย/ประเภทรายจ่ายให้ชัดเจน รวมถึงการนำเสนอข้อมูลรายจ่ายจากรายได้สะสม(ถ้ามี)
11.การแจ้งแผนการใช้จ่ายเงินรายได้พัฒนาภาควิชาประจำปี ให้ภาควิชา/การเงิน สำหรับเป็นกรอบในการใช้จ่ายเงินรายได้   กันยายน ขวัญฤดี โทร. 7408 - หนังสือแจ้งแผนการใช้จ่ายเงินรายได้พัฒนาภาควิชา หากคณะกรรมการประจำคณะฯ มีมติเห็นชอบ สามารถดำเนินการแจ้งให้ภาควิชา/การเงินทราบ เพื่อเป็นกรอบรายจ่ายประจำปี  หากมีข้อทักท้วงภาควิชาต้องดำเนินการแก้ไขก่อน 
12. การเปลี่ยนแปลงแผนการใช้จ่ายเงินรายได้ประจำปี   ขึ้นอยู่กับภาควิชาที่ต้องการปรับปรุงแผนการใช้จ่ายเงิน ภาควิชา/ผู้บริหารคณะฯ - หนังสือขออนุมัติปรับปรุงแผนการใช้จ่ายเงินรายได้พัฒนาภาควิชา ภาควิชาต้องแสดงเอกสารที่ปรับปรุงใหม่ให้ชัดเจน  พร้อมแนบข้อมูลเดิมมาด้วย เพื่อให้รับทราบรายการที่มีปรับปรุง/เพิ่มเติม พร้อมนำเสนอให้ผู้บริหารพิจารณาอนุมัติ 
13. การขออนุมัติใช้จ่ายเงินรายได้สะสม   มกราคม ของปีถัดไป กองแผนงาน/รองอธิการบดีฝ่ายการเงินฯ - หนังสือขออนุมัติใช้เงินจากรายได้สะสม ต้องแนบรายการที่จะขอใช้จ่ายรายได้สะสมด้วย  โดยส่งเอกสารผ่านกองแผนงาน และเมื่อได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัยแล้ว ดำเนินการแจ้งภาควิชาที่เกี่ยวข้องและกลุ่มงานการเงินและพัสดุ เพื่อทราบ
 การจัดสรรเงินรายได้พัฒนาภาควิชา(ช่วงหลังสิ้นปีงบประมาณ เป็นยอดจัดสรรจริง)      
14. การจัดสรรเงินรายได้โดยใช้ข้อมูลจริง   ตุลาคมของปีถัดไป ขวัญฤดี โทร. 7408 - หนังสือแจ้งการจัดสรรเงินรายได้พัฒนาภาควิชา เมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2556  คณะฯ ได้รับแจ้งยอดรายรับจริงจากค่าธรรมเนียมพิเศษของรอบปีงบประมาณ 2556 จะดำเนินการจัดสรรเงินอีกครั้งเพื่อ แจ้งให้ภาควิชา/หน่วยงานทราบ โดยใช้กระบวนการดำเนินงานและสูตรการจัดสรรเหมือนการจัดสรรเงินยอดประมาณการ  ใช้ข้อมูลการดำเนินงานที่แท้จริงในรอบปีงบประมาณ 2556 ประกอบด้วย 
            1. จำนวนนักศึกษาปริญญาตรีภาคการศึกษาที่ 1/2556 
            2. จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาภาคการศึกษาที่ 2/2555 และ 1/2556 แล้วนำมาหาร 2 เพื่อให้ได้นักศึกษาเต็มเวลาของปีงบประมาณ 2556
            3. จำนวนบุคลากร ณ ต้นปีงบประมาณ 2556 (ข้อมูลบุคลากรเดือนตุลาคม 2555)  
            4. คะแนนการประเมินคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2555 ของภาควิชาต่างๆ  
            5. เงินรายรับค่าธรรมเนียมพิเศษของนักศึกษาปริญญาตรีโครงการปกติ และโครงการพิเศษ  รวมถึงนักศึกษาปริญญาโทของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์